วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงกล่อมเด็ก 4 ภาค และลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง


1.หากลองนึกย้อนกลับไปในวัยเด็ก คุณยังจำอ้อมกอดอบอุ่นบนอกในอ้อมแขนของแม่ได้ไหม?แม่โอบกอดเราอย่างเบามือ เห่กล่อม พัดวี ยุงริ้นไม่ให้ต้องผิวกาย ทะนุถนอมกล่อมเกลาด้วยความรัก น้ำเสียงของแม่ อ้อมกอดของแม่อบอุ่น ช่วยให้ลูกน้อยอุ่นใจ ผ่อนคลายรู้สึกปลอดภัย และหลับใหลอย่างเป็นสุข

ขณะที่พ่อแม่จำนวนมากในยุคนี้ละเลย ทิ้งลูกไว้กับเสียงเพลงจากแผ่นซีดีหรือเปิดนิทานจากเทปให้ลูกฟัง บ้างให้ความสนใจ กับการพัฒนาสมองของลูกน้อยด้วยดนตรีของโมสาร์ท จนลืมไปแล้วว่า เรามี เพลงกล่อมลูก ภูมิปัญญาไทยที่สั่งสมถ่ายทอดต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งเป็นท่วงทำนองแห่งรักจากแม่ที่ผูกเกี่ยวสายใยความอบอุ่นด้วยสัมผัสทางตา หู กาย ใจ
รศ.โสภนา ศรีจำปา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทม.มหิดล อธิบายที่มาของเพลงกล่อมลูกว่า เพลงกล่อมลูกถือเป็นคติชาวบ้านที่ใช้ภาษาเป็นสื่อ เป็นวรรณกรรมที่ไม่มีการเขียน หรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อาศัยการท่องจำ และบอกเล่าต่อๆ กันมาซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ที่แม่ได้ถ่ายทอดความรัก ความอบอุ่น ห่วงใยไปตามกระแสเสียงส่งถึงลูกน้อย บทเพลงกล่อมลูก
มักมีท่วงทำนองเห่กล่อมแช่มช้า และหลับอย่างเป็นสุข เนื้อหาถ้อยคำมักสะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิต นิทานพื้นบ้าน ที่มีความหมายในเชิงอบรมสั่งสอนพรรณนาความรักความผูกพัน และฟูมฟักให้เด็กซึมซับความเป็นเด็กดี เป็นคนดีของสังคม
นอกจากนี้ เพลงกล่อมลูกของไทยในแต่ละภาคก็มีท่วงทำนอง และเนื้อร้องที่แตกต่างกันไปด้วย อย่างทางภาคเหนือก็จะเรียกว่า เพลงอื่อลูก ทางอีสานเรียกว่า เพลงนอนสาหล่า ส่วนทางใต้จะเรียกว่าเพลงชาน้องหรือเพลงช้าน้อง และทางภาคกลางจะเรียก เพลงกล่อมลูก หรือ เพลงกล่อมเด็ก นั่นเอง กระนั้นแม้ว่าเพลงกล่อมลูก ในแต่ละภาคของไทยเรา จะมีเนื้อหา
ท่วงทำนองที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสำเนียงการร้อง ที่ใช้ภาษาถิ่นของตนเอง แต่สิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือจังหวะและอารมณ์ของแม่ ที่มุ่งหวังให้ลูกรู้สึกอบอุ่น และนอนหลับอย่างสบายใจ ทุกวันนี้เพลงกล่อมลูกค่อยๆ เลือนหายไป พ่อแม่ยุคใหม่มักเลือกเปิดเพลงให้ลูกฟัง ถึงแม้ประโยชน์ที่ได้รับจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่ละเลยไม่ได้คือสัมผัสของความรักความอบอุ่น รวมถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูเพลงกล่อมลูกซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมของไทย
สำหรับเด็กรุ่นใหม่ก็มีน้อยคนนักที่จะรู้จัก เพลงกล่อมเด็ก และนี่เป็นเสียงเล็กๆ ของเด็กๆ จำนวนหนึ่งที่รักชอบศิลปวัฒนธรรม และเห็นคุณค่าของเพลงกล่อมเด็ก


…………………………………………………………


จิราพรรณ พินิจมนตรี หรือ น้องยุ้ย อายุ 18 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จ. ขอนแก่น หนึ่งในผู้แข่งขันซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศ ประเภทนักเรียนนักศึกษา ภาคอีสานใน โครงการประกวดขับร้องเพลงกล่อมลูก 4 ภาคของ ม.มหิดลบอกเล่าความรู้สึกว่า พ่อแม่ยุคใหม่อาจไม่ให้ความสำคัญกับเพลงกล่อมเด็ก เหลือเพียงย่า ยายเท่านั้นที่ยังคงร้องเพลงกล่อมลูกหลานได้อยู่ ซึ่งแท้จริงแล้วเพลงกล่อมลูกมีความสำคัญมากไม่ต่างกันกับการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง แต่การร้องเพลงเด็กจะได้วัฒนธรรมประเพณีผ่านทำนอง รวมทั้งการใช้คำที่คล้องจองกัน ทำให้เด็กเกิดการจดจำมากขึ้น ตอนเด็กๆ แม่ก็ร้องเพลงกล่อมหนูและน้องเหมือนกัน โดยแม่จะไม่ได้ร้องเน้นทำนอง เนื้อร้อง ตามแบบฉบับของเพลงกล่อมลูก แม่สร้างทำนองและเนื้อร้องเอง ที่จำได้แม่มักเริ่มร้องว่า...นอนสาหล่าหลับตาแม่สิกล่อม...แม่ร้องเล่าเรื่องไปเรื่อยๆ จนหนูหลับจิราพรรณ ยังบอกอีกว่า เนื้อหาเอกลักษณ์ของเพลงกล่อมลูกอีสาน มักจะเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของลูกอีสาน การทำงาน วัวควายไร่นา พูดถึงการเลี้ยงลูก ดูแล การขับกล่อมบางคราวก็มีลักษณะขู่ให้เด็กกลัว ชวนให้นอน เคลิบเคลิ้ม ทั้งปลอบและขู่ในเวลาเดียวกัน ที่สำคัญมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กได้เพลิดเพลินและหลับไปในที่สุด ส่วนทัศนะของจิรพรรณหากอนาคตเธอมีครอบครัว แน่นอนว่าเธอจะแบ่งเวลาให้กับลูกและร้องเพลงกล่อมลูกแน่นอน ครั้งนี้ถือ
เป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้เด็กได้เรียนรู้ และรู้จักคุณค่าของเพลงกล่อมลูก พร้อมกับการเผยแพร่อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้วย


…………………………………………………………….


ขณะที่คุณแม่ซึ่งขณะนี้พ่วงตำแหน่งคุณย่าวัย 55 ปี ชาว จ. เชียงใหม่ เจ้าของแชมป์ ประเภทประชาชนทั่วไป ภาคเหนือ ในเวทีเดียวกัน สมศรี ชัยวงศ์ บอกว่า ตอนนี้ร้องเพลงกล่อมหลานนอนตลอด เป็นเพลงอื่อ ซึ่งช่วยให้เด็กไม่ดื้อ ไม่กวน เป็นเด็กดี ว่านอนสอนง่าย ผู้ร้องก็สุข สบายใจ
มีลูกชาย 2 คน ก็ร้องเพลงกล่อมมาตั้งแต่เด็ก ไกวเปล ผูกติดขื่อบ้านโยงเชือกยาวๆ สูง แกว่งไกว บางทีลูกเกาะเปลไม่หลับแต่เราหลับก่อนลูกก็มี ตอนนั้นเป็นข้าราชการครู แต่ด้วยโรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน ก่อนออกไปทำงานก็ต้องคอยดูจนกว่าลูกจะ หลับก่อนแล้วค่อยออกไปส่วนกลางวันก็กลับมาให้นม ไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่เราก็จะร้องเพลงเพื่อให้รู้ว่าแม่อยู่ใกล้ๆ ทั้งเช้ากลางวัน เย็น คอยดูแลลูกไม่ห่าง ทำให้ลูกติดเรามาก ติดจนโตเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ยังติดแม่เพราะเราให้ ความอบอุ่นใกล้ชิดลูก


……………………………………………………………….



สมศรี ทิ้งท้ายว่า เพลงกล่อมเด็กมีคุณค่าและคุณประโยชน์อย่างยิ่ง กระทรวงวัฒนธรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะมีส่วนส่งเสริม ไม่เพียงนอกจากมีเทศกาลก็จะทำพักเดียว อยากให้ช่วยสนับสนุน


บทความในบล็อกนี้ คัดลอกมาทั้งหมด ด้วยเจตนาที่เห็นถึงคุณประโยชน์ของเพลงกล่อมเด็กกำลังจะถูกลืม ซึ่งในสังคมไทยปัจจุบันหันไปรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากมายเหลือเกิน จนลืมไปว่าของไทยก็มีดี ที่หนึ่งเลย


ด้วยความปรารถนาดีจากแม่ไก่เอ้กค่ะ


…………………………………


hi5 เวอร์ชั่นมือถือ


เพื่อนของคุณ โลกของคุณ บนโทรศัพท์มือถือของคุณ


พิมพ์ http://m.hi5.com ในบราวเซอร์จากโทรศัพท์มือถือของคุณ


……………………………………………………………


เพลงกล่อมเด็ก




เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ใช้ภาษาเป็นสื่อในการสืบทอดซึ่งแพร่หลายแทบทุกชาติทุกภาษาทั่วโลกทางยุโรป เช่น อังกฤษเรียกเพลงกล่อมเด็กว่า Mother Goose ในอเมริกาเรียก Lullaby








นกเขาขันนกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็น ขันไปให้ดังแม่จะฟังเสียงเล่น เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย
กาเหว่ากาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก แม่กาหลงรัก คิดว่าลูกในอุทรคาบข้าวมาเผื่อ คาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน สอนร่อนสอนบินแม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลากินกุ้งกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้าโพธิทองนายพรานเห็นเข้า เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ แสนระกำใจเอย
วัดโบสถ์
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ มีต้นข้าวโพดสาลีลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากเอาตัวหนีข้าวโพดสาลี ต่อแต่นี้จะโรยรา
นอนไปเถิดนอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกวทองคำแม่อย่าร่ำไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย
เจ้าเนื้อละมุนเจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลีแม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรีทองดีเจ้าคนเดียวเอย


เจ้าเนื้ออ่อน
เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกินนมแม่จะอุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย


………………………………………………………..
ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก




2.ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก


เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและค่านิยมของคนในท้องถิ่นต่างๆ คนทุกชาติทุกภาษาในโลกมีบทเพลงกล่อมเด็กด้วยกันทั้งนั้น สันนิษฐานว่าเพลงกล่อมเด็กมีวิวัฒนาการจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอน ดังนั้นเพลงกล่อมเด็กบางเพลงจึงมีลักษณะเนื้อร้องที่เป็นเรื่องเป็นราว เช่น จันทรโครพ ไชยเชษฐ์ พระรถเสน เป็นต้น การที่ต้องมีเพลงกล่อมเด็กก็เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน หลับง่าย และเกิดความอบอุ่นใจ


3.ลักษณะของเพลงกล่อมเด็ก


ลักษณะกลอนของเพลงกล่อมเด็กจะเป็นกลอนชาวบ้านไม่มีแบบแผนแน่นอน เพียงแต่มีสัมผัสคล้องจองกันบ้าง ถ้อยคำที่ใช้ในบางครั้งอาจไม่มีความหมาย เนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรัก ความห่วงใยของแม่ที่มีต่อลูก ทั้งยังมีการสั่งสอนและเสียดสีสังคม สามารถแยกเป็นข้อได้ดังนี้



  • เป็นบทร้อยกรองสั้นๆ มีคำคล้องจองต่อเนื่องกันไป

  • มีฉันทลักษณ์ไม่แน่นอน

  • ใช้คำง่ายๆ สั้นหรือยาวก็ได้

  • มีจังหวะในการร้องและทำนองที่เรียบง่าย สนุกสนาน จดจำได้ง่าย

…………………………………………………………………


ประเภทของเนื้อเพลงในแต่ละภาค



4.ประเภทของเนื้อเพลงกล่อมเด็ก



  • แสดงความรักความห่วงใย

  • กล่าวถึงสิ่งแวดล้อม

  • เล่าเป็นนิทานและวรรณคดี

  • เป็นการเล่าประสบการณ์

  • ล้อเลียนและเสียดสีสังคม

  • ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็ก

  • เป็นคติ คำสอน

5.เพลงกล่อมเด็กในแต่ละภาค


ในประเทศไทยเรานั้นมีเพลงกล่อมเด็กอยู่ทั่วทุกภาค เนื้อร้องและทำนองจะต่างกันไป มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น ภาคเหนือเรียก "เพลงนอนสาหล่า" "นอนสาเดอ" ภาคกลางเรียก "เพลงกล่อมเด็ก" "เพลงกล่อมลูก" ส่วนภาคใต้เรียก "เพลงชาน้อง" "เพลงเปล" "เพลงน้องนอน" และ "เพลงร้องเรือ" โดยเพลงกล่อมเด็กเป็นคติชาวบ้านประเภทใช้ภาษาเป็นสื่อที่การถ่ายทอดจากปากต่อปากมาแต่โบราณ เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีบทบาทและหน้าที่แสดงเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน


6.เพลงกล่อมเด็กภาคเหนือ


สำหรับภาคเหนือ หรือดินแดนล้านนาอันสงบสวยงาม มีเพลงกล่อมลูกสืบทอดเป็นลักษณะแบบแผนเฉพาะของตนเองมาช้านาน อาจารย์สิงฆะ วรรณไสย แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือว่า "คำร่ำ" ซึ่งจัดเป็นลำนำชนิดหนึ่ง หมายถึงการร่ำพรรณนา มีเสียงไพเราะ สูงต่ำตามสียงวรรณยุกต์ของสำเนียงภาคเหนือ นิยมใช้แต่งในการร่ำบอกไฟขึ้น ร่ำสร้างวิหาร ร่ำสร้างเจดีย์ ร่ำสร่างถนน ขึ้นดอยสุเทพ และแตงเป็นคำกล่อมเด็ก



คำกล่อมเด็กนี้ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในภาคเหนือสมัยก่อนมักจะใช้ขับกล่อมสอนลูกหลานขณะอุ้มเด็กนั่งชิงช้าแกว่งไกวช้าๆ จนเด็กง่วงนอน จึงอุ้มไปวางบนที่นอนหรือในเปลแล้วแห่กล่อมต่อจนเด็กหลับสนิท คำกล่อมเด็กนี้จึงเรียนว่า "สิกจุ้งจาโหน" ตามเสียงที่ใช้ขึ้นต้นเพลง ลักษณะเด่นของเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือนอกจากจะขึ้นต้นด้วยคำว่าสิกจุ้งจาโหนแล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูก ทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไปช้าๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็น ตามถ้อยคำที่สรรมาเพื่อสั่งสอนพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อย จนถึงคำปลอบ คำขู่ ขณะยังไม่ยอมหลับถ้อยคำต่างๆ ในเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆ ของคนในภาคเหนือในอดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นับเป็นประโยชน์ทางอ้อมที่ได้รับนอกเหนือจากความอบอุ่นใจของลูกที่เป็นประโยชน์โดยตรงของเพลงกล่อมเด็ก คล้ายกลอนสุภาพทั่วไป และเป็นคำพื้นบ้านที่มีความหมายในเชิงสั่งสอนลูกหลานด้วยความรักความผูกพัน ซึ่งมักจะประกอบด้วย 4 ส่วนเสมอ คือ ส่วนที่เป็นการปลอบโยนการขู่และการขอโดยมุ่งให้เด็กหลับเร็วๆ นอกจากนี้ก็จะเป็นคำที่แสดงสภาพสังคมด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอยู่ บรรยากาศในหมู่บ้านค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น คุณค่าของเพลงกล่อมเด็กอีสาน จึงมีพร้อมทั้งทางด้านจิตใจและด้านการศึกษาของชาติ




เพลงกล่อมเด็กภาคกลาง




7.เพลงกล่อมเด็กภาคกลาง


เพลงกล่อมเด็กภาคกลางเป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานมากกว่าเพลงกล่อมเด็กภาคอื่น ซึ่งสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ โดยไม่มีชื่อเฉพาะสำหรับเรียกเพลงกล่อมเด็กภาคกลาง เนื่องจากขึ้นต้นบทร้องด้วยคำหลากหลายชนิดตามแต่เนื้อหาของเพลง นักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาแบ่งประเภทเนื่อหาของเพลงกล่อมเด็กภาคกลางไว้คล้ายกัน คือ



  • ประเภทสะท้อนให้เห็นความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ดังจะเห็นได้จากถ้อยคำที่ใช้เรียกลูกว่าเจ้าเนื้อละเอียด เจ้าเนื้ออุ่น เจ้าเนื้อเย็นสุดที่รักสุดสายใจ เป็นต้น

  • ประเภทสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ของคนไทยภาคกลางในด้านต่างๆ เช่น ความเจริญทางวัตถุ ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ความศรัทธา ความเชื่อคุณธรรมประจำใจ อารมณ์ขัน และการทำมาหากินของประชาชน

  • ประเภทให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ความรู้ทางภาษา ธรรมชาติวิทยา วรรณคดี นิทาน ภูมิศาสาตร์ ประวัติศาสตร์ แบบแผนการปกครอง และครอบครัว

ลักษณะทำนองและลีลาของเพลงกล่อมเด็กภาคกลางจะเป็นการขับกล่อมอย่างช้าๆ เช่นเดียวกับภาคอื่นๆ กลุ่มเสียงก็จะซ้ำๆ เช่นกัน แต่จะเน้นการใช้เสียงทุ้มเย็น และยึดคำแต่ละคำให้เชื่อมกลืนกันไปอย่างไพเราะ อ่อนหวาน ไม่ให้มีเสียงสะดุด ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้เด็กฟังจนหลับสนิทในที่สุด


……………………………………………………………..


แต่เหนือสิ่งอื่นใด ลูกๆอย่าได้ลืมความรัก ความกตัญญูต่อบิดา-มารดา ของตน รวมไปถึงปู่-ย่า-ตา-ยาย ที่มีส่วนร่วมให้เราได้มีชีวิตอยู่จนทุกวันนี้และอย่าลืมเป็นคนดีของสังคมนะคะ..แม่ไก่เอ้กค่ะ